การแต่งกาพย์ยานี ๑๑

 

อธิบายกาพย์ยานี ๑๑

กาพย์ยานี ๑๑ เป็นกาพย์ที่มีเค้าเดิมมาจาก กาพย์พรหมคีติ จากคัมภีร์สารวิลาสินี และกาพย์ตรังคนทีหรือตรังควชิรวดี จากคัมภีร์กาพย์คันถะ เพราะเหตุว่ามีรูปแบบสัมผัสคล้ายคลึงกัน แต่มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้ให้ความเห็นว่า กาพย์ยานี น่าจะเอาอย่างมาจาก อินทรวิเชียรฉันท์ ที่มีต้นบทขึ้นว่า “ ยานีธ…”  แต่มีท่านพระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ เปรียญธรรม) ท่านได้อธิบายไว้ว่า คำว่า กาพย์ยานี ๑๑ ได้เรียกตามอินทรวิเชียรฉันท์ ซึ่งมีตัวอย่างว่า    “ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ” ถ้านำมาเขียนให้เห็นชัดตามแบบสัมผัสไทยก็เขียน ดังนี้

รตนสุตฺตํ

ยานีธ ภูตา-       นิ สมาคตานิ

ภุมฺมานิ วา ยา-   นิว อนฺตลิกฺเข

สพฺเพว ภูตา      สุมนา ภวนฺตุ

อโถปิ สกฺกจฺ-    จ สุณนฺตุ ภาสิตํ

กาพย์ยานี   มีชื่อเรียกหลายอย่าง  เช่น  กาพย์ยานี กาพย์ยานีลำนำ กาพย์ยานีลำนำ ๑๑ กาพย์ยานี ๑๑ เป็นต้น แต่ที่นิยมเรียกกัน คือกาพย์ยานี ๑๑

กาพย์ยานี ๑๑ นี้ บทหนึ่งมี ๒ บาท เรียกว่า บาทเอก และบาทโท บาทหนึ่งมี๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ ค่ำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ ในบาทเดียวกัน

การสัมผัส นั้น กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทเอก ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคหลังในบาทเอกเดียวกัน และให้คำสุดท้ายในบาทเอก ไปสัมผัสกับ

คำสุดท้ายของบาทโทในวรรคหน้า และให้สัมผัสร้อยระหว่างบทโดยให้คำสุดท้ายของบทแรกไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบาทเอก ในบทถัดไป

สัมผัสอย่างนี้จนจบเนื้อความตามที่ต้องการ โปรดดูแผนผังการสัมผัสที่ให้ไว้แล้วส่วนการสัมผัสวรรณยุกต์นั้น ใช้หลักสัมผัสเหมือนกับกลอนแปดสุภาพ หากต้อง

ต่อไปดูผังการสัมผัส กาพย์ยานี ๑๑

 

ดังตัวอย่าง

กวีบทนี้ให้ชื่อว่า อนิจจัง

 

มืดครึ้ม กระหึ่มทิศ        ฟ้าลิขิต สายลมผัน

อบอ้าว คลุกเคล้ากัน     ลมกรรโชก โบกพัดพา

เมฆหมอก บอกสลัว      มืดพันพัว มัวผวา

ต้นตาล นานนับมา        ยังยืนต้น บนพื้นดิน

เดี๋ยวมืด เดี่ยวกลับส่าง   สู่หนทาง สมถวิล

วิหก ผกหากิน               พื้นนาไร่ หายโอดครวญ

โลกนี้ บ่แน่นอน            เดี่ยวเย็นร้อน กลับแปรผวน

โอ้ฟ้า สิมาปรวน            อนิจจัง มิยั่งยืน.

…หยาดกวี…

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *