ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

ทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด

จุดประสงค์ทั่วไป

ผู้เรียนมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

  1. บอกความหมายของทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดได้
  2. แยกประเภททรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดได้
  3. บอกความสำคัญของทรัพยากรสารนิเทศประเภทต่าง ๆ ได้

สาระสำคัญ

ทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุด เป็นวัสดุที่ใช้ในการบันทึกข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของวัสดุตีพิมพ์  และวัสดุไม่ตีพิมพ์  วัสดุตีพิมพ์ในห้องสมุดแบ่งออกเป็น  หนังสือ  วารสาร  นิตยสารหนังสือพิมพ์  จุลสาร และกฤตภาค  สำหรับวัสดุไม่ตีพิมพ์  แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  โสตทัศนวัสดุ  วัสดุย่อส่วน  และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์  ทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดแต่ละประเภทจะมีลักษณะของการบันทึก  การจัดเก็บ  และการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันไป

ทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพการ์ตูนสารสนเทศในห้องสมุด

ความหมายของทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด

                ทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด  หมายถึง  วัสดุที่ใช้บันทึกข่าวสาร  ความรู้ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสติปัญญา  อารมณ์และจิตใจของมนุษย์ ซึ่งวัสดุเหล่านี้ถูกจัดเก็บรวบรวมไว้ในห้องสมุด

ประเภททรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด

ทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ดังนี้

  1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed  Materials)  แบ่งออกเป็น                                                                                                                                                                             1.1 หนังสือ

1.2  วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์  (Journals  Magazines and  Newspapers )

1.3  จุลสาร (Phamplet)

1.4  กฤตภาค  (Clipping)

  1. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Nonprint  Materials)  แบ่งออกเป็น
    • 1 โสตทัศนวัสดุ  (Audio  Visual  Materials)
  • 2 วัสดุย่อส่วน  (Microforms)
    1. วัสดุย่อส่วน (Microforms) คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์และสารนิเทศศาสตร์  (2543 :12) ได้กล่าวถึงวัสดุย่อส่วนว่า  เป็นวัสดุที่จัดเก็บข้อมูลโดยถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ จุลสาร (Phamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่รูปเล่มกะทัดรัด  ส่วนใหญ่จะมีความหนาไม่เกิน  60  หน้า  จัดพิมพ์ขึ้นโดย  หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งเสนอความรู้เฉพาะเรื่องหรือ  สาขาวิชาต่าง ๆ
      1. กฤตภาค  (Clippings)  หมายถึงข่าวสาร  ความรู้  รูปภาพ  หรือบทความต่าง ๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์  หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แล้วนำมาผนึกไว้บนกระดาษโดยระบุแหล่งที่มาของสารนั้น  วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Materials)วัสดุตีพิมพ์  (Printed  Materials)   วัสดุตีพิมพ์เป็นวัสดุสารนิเทศประเภทแผ่นกระดาษ  ที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูล  ข่าวสารและความรู้ต่าง ๆ                          ซึ่งประกอบด้วย
        1. หนังสือ (Book) แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

             1.1   หนังสือสารคดี  (Non-Fiction  Books)  ประกอบด้วย

        1.1.1  หนังสือตำราวิชาการหรือแบบเรียน (Textbooks) เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับการเรียนการสอน  ตามรายละเอียดเนื้อหาวิชา        ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

        1.1.2  หนังสืออ่านประกอบ  (External  Readings)  เป็นหนังสือที่ใช้อ่านประกอบในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ที่        กว้างขวางขึ้น

        1.1.3  หนังสือความรู้ทั่วไป  (General  Readings)  เป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวทั่ว ๆ ไปหรือเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง                 สำหรับผู้ที่สนใจอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้

        1.1.4  หนังสืออ้างอิง  (Reference  Books)  เป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิสาขาใดสาขาหนึ่ง  เพื่อให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ต้องการโดยไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มหรือทั้งชุด  เช่นหนังสือสารานุกรม  พจนานุกรม  หนังสือรายปี  เป็นต้น

        1.1.5  ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์  (Thesis  or  Dissertations)  เป็นหนังสือสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  (ปริญญาโทขึ้นไป)  เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร

        1.1.6  หนังสือคู่มือครู  หลักสูตร  โครงการสอน แผนการสอน  และคู่มือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเฉพาะ  จะจัดแยกจากหนังสือประเภทอื่น ๆ

         1.2  หนังสือบันเทิงคดี  (Fictions)  เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงแก่ผู้อ่าน  ซึ่งอาจจะสอดแทรกความรู้และข้อคิดต่างๆ  ไว้ด้วย  หนังสือประเภทนี้ผู้เขียน  เขียนขึ้นจากแนวคิด  ประสบการณ์  ตลอดจนจินตนาการของตนเอง  แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

        1.2.1  หนังสือนวนิยาย  (Fictions) เป็นหนังสือที่มีกลวิธีในการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจ  และผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่อง  เนื้อเรื่องยาวจะแบ่งออกเป็นตอน ๆ บางเรื่องอาจมีหลายเล่มจบหรือหลายภาค

        1.2.2  หนังสือเรื่องสั้น  (Short  Story)  เป็นหนังสือที่จะมีลักษณะคล้ายกับ

        นวนิยาย  แต่จะมีเนื้อเรื่องสั้น ๆ ตัวละครไม่มาก  มีจุดสำคัญ (ไคลแมกซ์) เพียงจุดเดียว  หนังสือเรื่องสั้นส่วนมากจะรวมหลายเรื่องเรียกว่ารวมเรื่องสั้น                       (Short  Story  Collection)

        1.2.3  หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน (Baby  Books)  เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นสำหรับเด็กและเยาวชน  ใช้ภาษาง่าย ๆ                อาจสอดแทรกข้อคิด  หรือคำสั่งสอนต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นแนวคิด  หรือจินตนาการที่เหนือธรรมชาติ

        1. วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์  เป็นหนังสือประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  ที่มีกำหนดออกตามวาระที่แน่นอน  เช่น  รายวัน  รายสัปดาห์          รายปักษ์  ฯลฯ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข่าวสาร  ความรู้ที่ทันสมัย  หรือความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ สิ่งพิมพ์ประเภทนี้ประกอบด้วย

        2.1  วารสาร  (Periodicals  or  Journals)  เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีรายละเอียดเนื้อหาเน้นหนักทางด้านวิชาการ  และสาระความรู้ต่าง ๆ

        2.2  นิตยสาร  (Magazines)  เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประเภทหนึ่ง  ที่มีเนื้อหามุ่งเน้นทางด้านบันเทิง  และประเภทเกร็ดความรู้

                                        2.3  หนังสือพิมพ์  (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มุ่งเน้นในเรื่องการนำเสนอข่าวสาร  ความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  โดยส่วนใหญ่จะมีกำหนดออกเป็นรายวัน  บางฉบับอาจเป็นรายสัปดาห์  หนังสือพิมพ์นอกจากจะเสนอข่าวสารต่าง ๆ แล้ว  ยังนำเสนอบทความ  บทวิเคราะห์วิจารณ์ สาระความรู้  และความบันเทิงที่ทันสมัยอีกด้วยแล้วจัดเก็บรวบรวมไว้ที่แฟ้ม  หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่การจัดเก็บและการใช้บริการ

      วัสดุไม่ตีพิมพ์  (Nonprint  Materials)  วัสดุไม่ตีพิมพ์  เป็นวัสดุสารนิเทศรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้หมายถึงวัสดุประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์  แต่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูล  ข่าวสาร  ความรู้ต่าง ๆ    วัสดุประเภทนี้ประกอบด้วย

      1. โสตทัศนวัสดุ (Audio  Visual  Materials)  เป็นสื่อที่ให้ข้อมูล  ความรู้  ข่าวสาร  แก่ผู้ใช้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู  ทางตา  ได้แก่

      1.1  แผ่นเสียง  (Phonodiscs)  และเทปบันทึกเสียง  (Phonotapes)  เป็นวัสดุที่ให้ข่าวสาร  ความรู้  และความบันเทิงต่าง ๆ ในรูปของเสียง  เช่น  บทเพลง  สุนทรพจน์  ปาฐกถา  คำบรรยายเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ฯลฯ

      1.2  ภาพยนตร์  (Motion  pictures  or  Films)  เป็นสื่อที่ให้ความรู้ข่าวสาร  ตลอดจน
      ความบันเทิง  ทั้งภาพและเสียง  ทำให้การเสนอเรื่องราวน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

      1.3  เทปวีดิทัศน์และแผ่นวีดิทัศน์ (Videotapes  and  Videodiscs)  เป็นสื่อที่ให้ความรู้และความบันเทิง  โดยใช้ภาพและเสียง

      1.4  รูปภาพ  (Pictures)  เป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยใช้รูปภาพ  ซึ่งอาจเป็นภาพวาด  ภาพเขียน  ภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ก็ได้

      1.5  แผนที่และลูกโลก  (Maps  and  Globes)  เป็นวัสดุสารนิเทศที่นำเสนอข้อมูลความรู้โดยการแสดงเขตพื้นที่  หรือพื้นผิวโลกในด้านกายภาพ เช่น        การแสดงเขตการปกครองเศรษฐกิจ  ฯลฯ

      1.6  ภาพเลื่อน  และภาพนิ่ง  (Filmstrips  and  Slides)  เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลประเภทภาพโปร่งแสงถ่ายบนฟิล์ม  ลักษณะของภาพนิ่งจะปรากฏที่ละภาพ  ส่วนภาพเลื่อนจะเป็นภาพต่อเนื่อง

      1.7  แผนภูมิ  (Charts)  เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลประเภทสัญลักษณ์  ตัวเลข  ตัวหนังสือ  และลายเส้น  ที่แสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ แผนภูมิมีหลายประเภท  ได้แก่  แผนภูมิภาพ  แผนภูมิตาราง  แผนภูมิแท่ง  ฯลฯ

      1.8  แผ่นโปร่งใส  (Transparencies)  เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลลงบนแผ่นพลาสติกใส  เวลาใช้จะต้องใช้ประกอบกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ  (Overhead  Projectors)

      1.9  หุ่นจำลอง  (Models)วัสดุที่ทำจำลองขึ้นแทนของจริง  อาจมีขนาดเท่าเดิมหรือย่อให้มีขนาดเล็กลงหรือขยายใหญ่กว่าของจริงก็ได้

      1.10  ของจริงและของตัวอย่าง  (Reals and Specimens)  เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลตามสภาพจริง  หรือตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ สำหรับของตัวอย่าง  หมายถึง  การนำของจริงมาเป็นเพียงตัวอย่าง  เช่น  แสตมป์  เหรียญโบราณ  แมลงต่าง ๆ ฯลฯ    ย่อส่วนให้มีขนาดเล็ก  เพราะจะทำให้จัดเก็บได้มาก  แต่เมื่อจะใช้ข้อมูลจะต้องใช้เครื่องอ่านประกอบ  วัสดุย่อส่วนแบ่งออกได้   ดังนี้

    2.1  ไมโครฟิล์ม  (Microfilms)  เป็นการถ่ายข้อความรู้  ข่าวสารจากเอกสารสิ่งพิมพ์  ลงบนม้วนฟิล์มขนาด  16  มม.  หรือ  35  มม.  แล้วเก็บรวบรวมม้วนฟิล์มไว้เมื่อจะใช้ต้องอ่านด้วยเครื่องอ่านไมโครฟิล์ม

    2.2  ไมโครฟิช  (Microfiches)  เป็นการถ่ายข้อความรู้  ข่าวสาร  จากเอกสารสิ่งพิมพ์   ลงบนแผ่นฟิล์มโปร่งแสงขนาด  3×5  นิ้ว  4×6  นิ้ว  หรือ  5×8  นิ้ว             แล้วอ่านด้วยเครื่องไมโครฟิช

    3.วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Materials)  เป็นวัสดุที่จัดเก็บสารนิเทศในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ต้องมีเครื่องแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง  วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  แบ่งออกได้  ดังนี้

    3.1 ซีดีรอม  (CD-ROM = Compact  Dise  Read  Only  Memory)

    3.2  แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิตอล  (DVD = Digital  Versatile  Dise)

    3.3  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  books  หรือ  E-books)

    3.4  วารสารอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  journals  หรือ  E-Journals)

    3.5  หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  newspapers หรือ E-newspapers)

    3.6  ฐานข้อมูล (Database)

    3.7  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ  E-Mail )

    3.8  เคเบิลทีวี  (Cable  Television  )

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *